 |
บรรยากาศการประชุมปรึกษาหารือพัฒนาโครงการ |
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประสานความร่วมมือเสนอแนวคิดการพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลและการเกษตรฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "โครงการบริการวิชาการและจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล" โดยมุ่งเป้าพัฒนาให้ มรย. เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการพัฒนาอุตสหกรรมอาหารฮาลาลครบวงจร โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน โดยมีมูลนิธิภูมิพลัง พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่สนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมเชิงพัฒนาด้านพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นเครือข่ายประชุมปรึกษาหารือด้วยในการดำเนินงานโครงการนี้ด้วย

การดำเนินงานในโครงการดังกล่าว ได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี และคณะผู้บริหาร พร้อมคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมประชุมปรึกษาหารือ ร่วมกับ คณะคณาจารย์ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จังหวัดนครราชสีมา จากหน่วยงาน "
เทคโนธานี" และ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเรือง มะรังศรี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.อุเทน ลีตน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปภากร พิทยชวาล และคุณปิยมาศ มหาบุญญานนท์ บุคลากรประจำเทคโนธานี
ซึ่งการประชุมปรึกษาหารือในที่นี้ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการ กำหนดแผนดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน กรอบการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีต้นแบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คือ เทคโนธานี ซึ่งมีส่วนของ
สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิด "ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารฮาลาลเพื่อวิสากิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" มุ่งไปสู่ Halal Food Valley อย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันใกล้นี้
ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา บรรยากาศร่มรื่นบนพื้นที่กว่า 200 ไร่
สำหรับโครงการ"ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารฮาลาลเพื่อวิสากิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" มีเป้าหมายการใช้พื้นที่ดำเนินการที่ "ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน" อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ใกล้กับเส้นทาง 4 ช่องจราจร (สาย 418) ที่มีจุดแข็งคือ อยู่ศูนย์กลางระหว่าง จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส การคมนาคมจากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 20 นาที และจากจังหวัดยะลา ประมาณ 15 นาที จากจังหวัดนราธิวาส ประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนั้น จุดแข็งของ มรย. ได้แก่ อยู่ในพื้นที่กลางใจเมือง ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม มีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกับมีคณะที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมศาสตร์และการวิจัยแขนงต่างๆ ได้แก่ คณะวิทยาศาตร์เทคโนโลยีและการเกษตร โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีสาขาวิชาด้านการออกแบบนวัตกรรมศิลป์ คณะวิทยาการจัดการที่มีสาขาวิชาด้านการตลาด บริหารธุรกิจ บัญชี การสื่อสารมวล เป็นต้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาที่ผ่านกระบวนการวิจัยด้านอาหารฮาลาลมาอย่างต่อเนื่องของนักวิจัย มรย. เช่น ส้มแขก ขมิ้นชัน หมี่เบตง ข้าวยำ ข้าวเกรียบปลา ประเภทสัตว์ ได้แก่ แพะ โค และไก่เบตง เป็นต้น
ในการพัฒนาศูนย์วิจัยฯ ดังกล่าวจะประกอบด้วยส่วนงานสำคัญๆ ในเบื้องต้น เช่น หน่วยบ่มเพาะธุรกิจและนวัตกรรม หน่วยประสานความร่วมมืออุตสาหกรรม หน่วยบริการทางเทคนิคและโรงงานต้นแบบ และหน่วยบริการทางธุรกิจ ซึ่งจะใช้ต้นแบบจาก "เทคโนธานี" ของมหาวิทยาลัยสุรนารี และมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง ประโยชน์ที่จะเกิดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ในโครงการนี้ ได้แก่
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทางคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะเดินทางไปศึกษาดูงานที่เทคโนธานี พร้อมมีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MoU) ร่วมกันทั้งสองมหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 นี้ และผลการดำเนินงานในโครงการดังกล่าว จะได้นำมารายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป