วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงการหมู่บ้าน มรย. สวัสดิการสนับสนุนให้บุคลากรมีบ้านเป็นของตนเอง

ตามนโยบายขับเคลื่อนตามวิสัยทัศน์ของอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านตนเอง อยู่ร่วมกันอย่างฉันท์พี่น้องในลักษณะ หมู่บ้านบุคลากร มรย. โดยได้ดำเนินการประสานให้ผู้ประกอบการ จำนวน 6 ราย มีโอกาสนำเสนอโครงการและพื้นที่ซึ่งเป็นสถานที่สร้างหมู่บ้าน มรย. ในโครงการ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ผ่านมา ซึ่งมีคณาจารย์และบุคลากรให้ความสนใจเข้าฟังข้อเสนอโครงการจำนวนมาก
      ในวัน พุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฯ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทที ขจรกิตติยา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเลขานุการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้นำคณาจารย์และบุคลากรที่สนใจโครงการหมู่บ้าน มรย. ลงพื้นที่จริงเพื่อดูสถานที่ของโครงการหมู่บ้านที่ผู้ประกอบการได้นำเสนอไว้  6 แห่ง  ซึ่งมีพื้นที่บริเวณต่างๆ ในเขตเทศบาลนครยะลา ได้แก่   1) บริเวณวัดเห้งเจีย 2) หมู่บ้านสถิตภิรมย์  3) บริเวณหน้า สวพ.(หน้าโพลีเก่า) 4) บริเวณ 5) หลังวัดเวฬุวัณ และ 6) บริเวณตลาดเมืองใหม่ 
     สำหรับความคืบหน้าในโครงการนี้ โปรดติดตามข้อมูลสรุปจำนวนผู้สนใจในแต่ละโครงการ หากโครงการใดมียอดผู้สนใจจำนวนมาก สามารถดำเนินโครงการได้ มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการประสานผู้ประกอบการ รวมทั้งธนาคารแหล่งสินเชื่อมานำเสนอโครงการโดยละเอียดต่อไป

หลักสูตรระยะสั้น: การพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

      ตามนโยบายเปิดกว้างทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ ที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นขึ้นเพื่อบริการตรงตามความต้องการข้องท้องถิ่น ขณะนี้มหาวิทยาลัยฯ โดยกองบริการการศึกษาได้จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ในเรื่องแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นของมหาวิทยาลัยฯ เรียบร้อยแล้ว  โดยได้มีคณะครุศาสตร์เสนอหลักสูตรระยะสั้น จำนวน 3 หลักสูตร และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4 หลักสูตร ประกอบด้วย

1. หลักสูตรฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาศักยภาพครูในพื้นที่ชายแดนใต้ ตามแนวการจัดการเรียนรู้ แบบทวิ - พหุภาษาศึกษา

2. หลักสูตรฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในพื้นที่ชายแดนใต้ ตามแนวการจัดการเรียนรู้ แบบทวิ - พหุภาษาศึกษา
3. หลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการ เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน แบบทวิ - พหุภาษาศึกษา สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครุ

4. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เสนอหลักสูตร การบริหารปกครองท้องที่           รวมทั้งสิ้น 4 หลักสูตร ซึ่งสภามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติหลักสูตรเรียยร้อยแล้ว เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557

       จากหลักสูตรข้างต้น เมื่อผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำมาเทียบโอนหน่วยกิจ เมื่อเข้ามาเรียนในหลักสูตรปกติได้  นอกจากนั้น ขณะนี้ศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำลังดำเนินการยกร่างหลักสูตรระยะสั้นด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร นักศึกษาและบุคลกรทั่วไป รวมทั้งศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งจะได้ดำเนินการเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติในคราวประชุมครั้งต่อไป

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมขับเคลื่อนการบูรณากาศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญของการขับเคลื่อนภารกิจด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการจัดกิจกรรมของนักศึกษา
       ในปีงบประมาณ 2557 นี้ จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาบูรณาการกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารคณะวิทยาการจัดการ ภายใต้หัวข้อ "มคอ.อย่างไรให้สอดคล้องกับการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนสอน"  เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารคณะวิทยาการจัดการ โดยมี ดร.บุญสิทธิ์  ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดงานและให้นโยบาย และได้รับเกียรติบรรยายโดยวิทยากรเชี่ยวชาญเฉพาะ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ทิพยรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  
     ในการจัดกิจกรรมสัมมนาครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากคณาจารย์จากทุกคณะ จำนวนกว่า 30 คน ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสัมมนา คณาจารย์สามารถนำแนวคิด กรณีศึกษา และเห็นแนวทางการนำเนื้อหาด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาทุกสาขาวิชาได้ โดยเฉพาะเทคนิคในการเขียน มคอ. 3  และยังเป็นแนวทางในการดำเนินงานในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน องค์ประกอบด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยฯ ได้อีกด้วย 

การขับเคลื่อนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่ "ผู้นำ ICT สามจังหวัดชายแดนใต้" สนับสนุน e-WISDOM

    เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2556  คณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://ritc.yru.ac.th) ร่วมประชุมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมสำนักวิทยบริการฯ ชั้น 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแผนงานและติดตามผลการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการฯ รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ จากคณะกรรมการบริหาร โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานกรรมการในการประชุม  และมี อาจารย์ปรีชา พังสุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ เป็นรองประธานกรรมการ โดยคณะกรรมการจากภาพนอก ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมถึงผูู้แทนจาก TK Park เป็นต้น
   การประชุมครั้งนี้ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานกรรมการ เสนอแนวทางการพัฒนาสำนักวิทยบริการฯ ให้เป็นหน่วยงานพัฒนาเชิงรุก ใช้การบริหารเชิงยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือ ภาพหลักษณ์ในอนาคต 3 ปีข้างหน้า มุ่งให้เป็น "ผู้นำ ICT ในสามจังหวัดชายแดนใต้" เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการด้วย ICT เน้นการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ และเน้นการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้" โดยมุ่่งเน้นผลการปฏิบัติงานด้านหลักๆ ของมหาวิทยาลัย ได้นำเสนอในรูปแบบคลังปัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (e-WISDOM) เพื่อให้สามารถเข้าถึงคลังปัญญาได้สะดต่อไปในอนาคต เช่น e-Research, e-Student, e-Personnel, e-Profile, e-Service Academic, e-Assessment and e-Quality Assurance

      นอกจากนั้นที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบอนุมัติให้ใช้และผ่านร่างแผนต่างๆ ที่สำนักวิทยบริการฯ ร่วมกันพัฒนาขึ้น  (1) แผนกลยุทธ์ ปี 2555-2559 (ฉบับปรุงปรุง 2557) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแผน (2) ทบทวนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2557 (3) แผนปฏิบัติราชการ ปี 2555-2558 (ฉบับปรับปรุง) และ เห็นชอบผ่านร่าง (4) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557-2561) ซึ่งเชื่อมมาจากแผนแม่บท ICT ของชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552-2556) และสอดคล้องกับร่างแผนแม่บท ICT ของชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557-2561) ทั้งนี้ เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และเสนอกระทรวง ICT เพื่ออนุมัติใช้เป็นกรอบในการพัฒนาด้าน ICT ของมหาวิทยาลัยต่อไป  ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแผลกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นจะเริ่มดำเนินการอย่างเป็นระบบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  ต่อไป

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมเปิดรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

     ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะขยายการศึกษาโดยการเปิดระดับประถมศึกษา ซึ่งในปีการศึกษา 2557 จะเปิดชั้น ป.1 โดยจะรับนักเรียนจำนวน 2 ห้อง ห้องละ 36 คน

      สำหรับหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนรการสอนครั้งนี้ จะใช้หลักสูตรแกนกลางของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก และมีรายวิชาเพิ่ม โดยเน้นทางภาษาเป็นหลัก ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายูและภาษาจีน ซึ่งหลักสูตรและแผนการรับนักเรียนได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้วเมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา
      ในระยะแรกของการจัดการเรียนการสอนจะปรับใช้ห้องเรียนชั้นล่างของศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ติดกับโรงเรียนสาธิต เป็นห้องเรียนไปก่อน โดยในปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยจะดำเนินการของบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารสำหรับการขยายเปิดการสอนระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป


วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การขับเคลื่อนอีเลิร์นนิ่งของศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT

http://elearning.yru.ac.th/elearnin
การขับเคลื่อนตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามประเด็นยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในแผนปฏิบัติงานประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปี พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้  "ผู้สอนร้อยละ 50 มีรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่ง" ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้จัดตั้งโครงการพิเศษ "ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT" (http://elearning.yru.ac.th/web/)  มีบุคลากรสนับสนุน จำนวน 2 คน (จากส่วนงานเทคโนโลยีการศึกษา) และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องต่อไป
    ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT ได้จัดให้มีโครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา มีคณาจารย์จากคณะและหลักสูตรต่างๆ เข้าร่วมอบรมรุ่นแรก (รุ่นแกนนำ) จำนวน 34 คน (ผ่านการประเมินและทำ TOR กับมหาวิทยาลัยฯ รวม 32 คน) เพื่อสร้างรายวิชาและเตรียมการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558  ผ่านระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ YRU e-Learning (http://elearning.yru.ac.th/elearning )

คณะกรรมการสื่อสารองค์กรและสื่อสารการศึกษา: การขับเคลื่อนองค์กรสู่วิสัยทัศน์และภาพลักษณ์ มรย.ยุคใหม่


      เพื่อให้กิจการการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร รวมทั้งการสื่อสารการศึกษาทั้งภายในและภายนอกองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีมาตรฐาน สามารถส่งเสริมองค์กรให้ดำเนินงานไปสู่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ที่กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์บัณฑิตไว้ และมุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ภาพลักษณ์ในอนาคต คือ “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้” และเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร รวมทั้งการสื่อสารการศึกษา ซึ่งได้แก่ ระบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เครือข่าย ช่องทางการสื่อสาร สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ครุภัณฑ์ รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
      ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯ จึงแต่งตั้ง คณะกรรมการองค์กรและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบด้วย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานกรรมการ ผศ.ดร.นัทที ขจรกิตติยา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเลขานุการเป็นรองประธาน และคณะกรรมการจาก 7 ส่วนราชการ และคณะกรรมการจากงานประชาสัมพันธ์ฯ งานวิเทศสัมพันธ์ เป็นคณะกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารองค์กรและสื่อสารการศึกษาดังนี้