๕๙ โครงการตามวิสัยทัศน์


รายละเอียด ๕๙ โครงการ ตามกรอบ
"โครงสร้างพื้้นฐานเพิ่ม เติมสวัสดิการ สานศักยภาพ ทาบชุมชน" 

เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย 
"มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้"

โครงสร้างพื้นฐานเพิ่ม

๑. “คืนสนามฟุตบอล” จัดสร้างสนามฟุตบอลเพื่อรองรับการออกกำลังกาย สันทนาการและกิจกรรมการเรียนการสอน (ไม่กระทบบ้านพัก)
๒. “เคเบิ้ล TV มรย” เป็นการจัดรายการทั้งด้านวิชาการกิจกรรมต่างๆผ่านการถ่ายทอดช่องเคเบิ้ลออกอากาศใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
๓. “LED ๔ มุมเมือง” ติดตั้งป้ายรูปภาพและตัววิ่ง โฆษณา ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
๔. “ห้องเรียน น่าเรียน” เป็นการจัดห้องเรียนติดแอร์ ๑๐๐ ห้อง มีอุปกรณ์ระบบ IT พร้อมใช้
๕. “พัฒนาระบบ” เทคโนโลยีสารสนเทศมาสร้างคุณค่าในการบริหารจัดการองค์กร
๖. “ลาน ICT” ลานสำหรับการทำกิจกรรมด้าน ICT โดยจะเปิดให้บริการจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. หรือบริการตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง
๗. “Edutainment” ห้องสมุดปัญญาภิรมย์ เป็นการสร้างบรรยากาศระหว่างการเรียนรู้และบันเทิง พร้อมนำระบบ IT มาบริหารจัดการ
๘. “จัดระบบจารจร” โดยการจอดรถเดินเรียน
๙. “Cover way” สำหรับการจอดรถเดินเรียนโดยมีหลังคาคุมสามารถเดินระหว่างอาคารเรียนต่างๆได้โดยไม่โดนฝนและแดด
๑๐. “ปรับปรุงระบบ” สาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบรักษาความปลอดภัยวางระบบท่อระบายน้ำ ไฟฟ้าและการควบคุมความปลอดภัย
๑๑. “พิพิธภัณฑ์ชายแดนใต้” เป็นแหล่งรวบรวมประวัติผลงานทั้งอดีตและปัจจุบันของมหาวิทยาลัยและ ๓ จังหวัดชายแดนใต้
๑๒. “หอศิลป์” เป็นแหล่งแสดงผลงานทางศิลป์พร้อมทั้งบริการวิชาการและจัดจำหน่ายผลงานของนักศึกษา
๑๓. “หอพักนักศึกษา” จัดสร้างหอพักสำหรับนักศึกษา โดยเป็นหอพัก ๔ อาคาร ชั้นที่ ๑ เป็นแหล่งประกอบธุรกิจเชิงพานิชย์ ชั้นที่ ๒,๓ และ ๔ จัดเป็นหอพักให้นักศึกษา (ไม่กระทบบ้านพัก)
๑๔. “โรงแรมน่าพัก” ปรับรูปลักษณ์และรูปแบบการบริหารให้เป็นโรงแรมที่ได้มาตรฐาน
๑๕. “รถยนต์เพียงพอ” จัดซื้อรถยนต์ประเภทต่างๆ ให้สามารถรองรับภารกิจของมหาวิทยาลัย

เติมสวัสดิการ

๑. “แสวงหา”/ปรับปรุงกรอบอัตราเป็นข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย
๒. “จัดตั้งหน่วยสวัสดิการ” และสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลบุคลากร
๓. “จัดตั้งหน่วยงานจัดหารายได้” เพื่อแสวงหารายได้ที่เกิดจากทรัพย์สิน
๔. “หมู่บ้าน มรย.” จัดสร้างหมู่บ้าน มรย. โดยให้บุคลากรได้เป็นเจ้าของบ้านผ่านระบบการจัดการของมหาวิทยาลัย
๕. “คูปองอาหาร” จัดสวัสดิการให้บุคลากรมีรายได้ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ได้มีอาหารกลางวัน
๖. “ศูนย์อาหารมาตรฐาน” เป็นการพัฒนาศูนย์อาหารให้มีมาตรฐานทั้งอาหารการบริการและสภาพแวดล้อม
๗. “บุคลากร/ลูกเรียนฟรีทุกระดับ” เป็นการแบ่งเบาภาระ โดยลูกสามารถเรียนโรงเรียนสาธิตและสามารถเรียนระดับปริญญาตรีที่ มรย. รวมทั้งบุคลากรสามารถเรียนระดับปริญญาตรี และปริญญาโทที่ มรย.
๘. “ตรวจสุขภาพประจำปี” จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้บุคลากรทุกคน
๙. “ฉันท์พี่น้อง” ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับบุคคลถึงระดับองค์กร
๑๐. “โลกกว้าง” เปิดโอกาสให้บุคลากรได้ศึกษาดูงานอย่างน้อย ๒ ปีต่อ ๑ ครั้ง
๑๑. “สหกรณ์สู่นิติบุคคล” บริหารสหกรณ์ในรูปบริษัทและขยายสาขาเพิ่มอีก ๒ สาขา
๑๒. “ตัวแทนประกัน/จัดทำประกัน” จัดระบบประกัน โดยรับเป็นตัวแทนการจัดทำประกันชีวิต สุขภาพ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ให้กับนักศึกษาและบุคลากรในราคาประหยัด
๑๓. “เท่าทัน IT” ระบบการจัดซื้อและผ่อนคอมพิวเตอร์ในราคาประหยัดสำหรับบุคลากรและพัฒนานักศึกษา
๑๔. “บริการสะดวก” จัดให้มีระบบบริการสาขาย่อย เช่น ธนาคาร ไฟฟ้า ไปรษณีย์

สานศักยภาพ

๑. เร่งรัดปฏิรูปกฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจ
๒. “การกระจายอำนาจ” เป็นการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานทุกระดับ ทั้งระบบงานสารบัญ ระบบงบประมาณรวมทั้งการบริหารงานบุคคล
๓. “ศูนย์ฝึกอบรม” จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโดยมีหลักสูตรการอบรมปีละ ๔๐ หลักสูตร โดยบุคลากรสามารถอบรมฟรีและรับบุคคลภายนอกเข้ารับการฝึกอบรมโดยมีค่าใช้จ่าย
๔. “สถาบันภาษา” จัดตั้งสถาบันภาษา มีห้อง Lab ภาษา ใช้ในการพัฒนานักศึกษา บุคลากร และ  บุคลภายนอก ทั้งจัดระบบการทดสอบภาษาอย่างเป็นระบบ
๕. “ศูนย์อาเซียนศึกษา” จัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๖. “มุ่งสู่ตำแหน่งวิชาการและวิชาชีพ” สนับสนุนให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการและวิชาชีพ โดยจัดค่าตอบแทนให้ผู้ทำผลงานและพี่เลี้ยงการทำผลงาน
๗. “ปริญญาเอกใกล้เอื้อม” ส่งเสริมให้มีการเรียนต่อในระดับปริญญาเอกโดยผ่านการเรียนภายใน มรย. และการแสวงหาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการหาแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก
๘. “เปิดกว้างทางการศึกษา” ส่งเสริมให้มีหลักสูตรเห็นผล (ระยะสั้น) และหลักสูตรตรงใจ (ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) ให้มากขึ้น
๙. “ผลิตครูตามบริบท” การผลิตนักศึกษาครุศาสตร์โดยการใช้ฐานคิดให้มีหอพักสำหรับนักศึกษา เพื่อจะได้ใช้เวลาในการพัฒนาด้านต่างๆให้มีความพร้อมในวิชาชีพครู
๑๐. “ขยายสาธิตสู่ประถมศึกษา” เปิดการเรียนการสอนในโรงเรียนสาธิตถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๑. “เกษตรก้าวหน้า” การผลิตนักศึกษาด้านเกษตรใช้ศูนย์แม่ลานเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น CP หรือสหพัฒน์ ที่จะนำวิทยาการต่างๆมาบูรณาการและสามารถให้นักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน
๑๒. “วิชาการเพื่อคว้าแชมป์” สนับสนุนงบประมาณส่งเสริมเพื่อการค้นหา สร้างและพัฒนานักศึกษาจนได้รางวัลระดับชาติและนานาชาติ
๑๓. “กีฬาเพื่อคว้าแชมป์” สนับสนุนทีมกีฬาให้ ได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งการสร้างทีมกีฬาให้มีความโดดเด่น
๑๔. “ตลาดนัดนักศึกษา” จัดตลาดนัดเพื่อนำผลงานและผลผลิตของนักศึกษาออกแสดงและจัดจำหน่ายเป็นประจำทุกเดือน
๑๕. “ลานกีฬา” จัดทำสนามกีฬากลางแจ้ง เช่น ฟุตซอล ตะกร้อ บาสเก็ตบอลและวอลเลย์บอล ไม่น้อยกว่า ๒๐ สนาม
๑๖. “ธนาคารความดี” การส่งเสริมให้นักศึกษากระทำความดี โดยจะมีการบันทึกเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ Transcript ความดี

ทาบชุมชน

๑. “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” สร้างต้นแบบเพื่อการศึกษาและเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒. “ศูนย์สันติวิธี” เป็นศูนย์ศึกษาและเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างสันติสุขในพื้นที่
๓. “ศูนย์ประสานงานเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” จัดตั้งสำนักงานให้ภาคส่วนหรือองค์กรต่างๆมีสำนักงานและตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสันติวิธี
๔. “สถาบันพัฒนาการเมือง” เป็นแหล่งพัฒนาด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยร่วมมือกับสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันพระปกเกล้า กกต.
๕. “สถาบันพัฒนาครูชายแดนใต้” จัดตั้งสถาบันโดยการจัดการอบรมและพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
๖. “ศูนย์ฮาลาล” จัดตั้งสำนักงานให้บริการตรวจสอบวิเคราะห์สินค้าหรืออาหารฮาลาล
๗. “ศิษย์เก่าร่วมพัฒนา” เป็นการนำศักยภาพศิษย์เก่าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย
๘. “คลินิคจัดหางาน” จัดตั้งคลินิคให้คำปรึกษาด้านการมีงานคำพร้อมทั้งแนะนำอาชีพและข้อมูลด้านการมีงานทำแก่บัณฑิตและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งบริการแนะนำการเขียนใบสมัครงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
๙. “ศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย” เพื่อให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของนักศึกษาประชาชนทั่วไป
๑๐. “ราชภัฏยะลา ๓” จัดหาพื้นที่ ๑ ตำบลเป็นพื้นที่ให้ทุกคณะและสำนักลงไปบริการวิชาการและพัฒนา พร้อมที่จะสร้างตำบลต้นแบบให้นักศึกษาประชาชนได้เข้าไปศึกษาและเรียนรู้
๑๑. “กีฬามวลชนสันติสุข” จัดการแข่งขันกีฬาโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนส่งทีมเข้าแข่งกีฬาในกีฬา ฟุตบอล ฟุตซอล ตะกร้อ บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
๑๒. “ศิลปวัฒนธรรมนำสันติสุข” จัดประกวดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมให้นักศึกษา ประชาชนได้ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม
๑๓. “YRU Big Band” มีรูปแบบผสมผสานระหว่างดนตรีสากล วงบานอและดิเกฮูลู ๔ ภาษา เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน
๑๔. “ยะลาโพล” จัดสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

ไม่มีความคิดเห็น: