วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โครงการก่อสร้างอาคารชุดที่พักบุคลากรเพื่อเสริมสวัสดิการสวิสดิภาพ ขวัญและกำลังใจของบุคลากร มรย.

     มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเร่งควบคุมและกำกับโครงการการก่อสร้าง อาคารชุดที่พักบุคลากร 10 ชั้น ซึ่งได้รับงบประมาณปีงบประมาณ 2557 เริ่มดำเนินงานโครงการ ตั้้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 – 17 กันยายน 2559  ด้วยวงเงินงบประมาณ จำนวน 209,500,000 บาท ควบคุมและกำกับการก่อสร้างโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อับดุลรอซะ วรรณอาลี รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน พร้อมกรรมการซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย โดยพื้นที่โครงการก่อสร้างคือ ณ บริเวณด้านทิศใต้ ตรงข้ามกับอาคารกิจการนักศึกษา (Student Union) อาคารชุดที่พักดังกล่าว เป็นอาคารสูง 10 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 8,068 ตารางเมตร แต่ละชั้นมีรายละเอียดพื้นที่ใช้สอย ดังนี้

ส่งมอบพื้นที่และรื้อถอนบ้านพักข้าราชการอายุใช้งานกว่า 40 ปี
สภาพการปรับพื้นที่เพื่อใช้ในการก่อสร้าง
ปรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารชุดที่พักบุคลากร
พื้นที่หลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและปรับพื้นที่

ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย สำนักบริหารอาคาร ห้องผู้จัดการ ห้องพักคอย ห้องซักรีด ห้องเก็บของทั่วไป ห้องแม่บ้าน ห้อง GENERATOR ห้องงานระบบประปา ห้อง MDB TERACE ห้องน้ำหญิง-ชาย ห้องน้ำคนพิการ พื้นที่พักผ่อน ห้องเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ห้องพักขยะ โถงลิฟต์ โถงทางเดิน
ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก สโมสร ห้องน้ำสโมสร ห้องเก็บของ เตรียมอาหาร ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ ชานเอนกประสงค์ โถงลิฟต์

ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีให้เกียรติเป็นประธาน
ในพิธีวางศิลาฤกษ์
พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารชุดที่พักบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภั
ยะลา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ ชานเอนกประสงค์ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 4 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ ชานเอนกประสงค์ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 5 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ ชานเอนกประสงค์ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 6 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 7 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ โถงลิฟต์

การก่อสร้างฐานรากของอาคารชุดที่พักบุคลากร
(วันที่ 15 ธันวาคม 2557)
สภาพแวดล้อมบริเวณก่อสร้าง
(วันที่ 15 ธันวาคม 2557)
ชั้นที่ 8 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 9 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ โถงลิฟต์
ชั้นที่ 10 ประกอบด้วย ห้องพัก ห้องน้ำห้องพัก ห้องเก็บของ ห้องงานระบบ ห้องพักขยะ โถงลิฟต์
ชั้นดาดฟ้า ประกอบด้วย ห้องเครื่องลิฟต์ พื้นดาดฟ้า

..
..
ภาพโมเดลอาคารชุดที่พักบุคลากรด้านหลังเมื่อก่อสร้างเสร็จ
ภาพโมเดลอาคารชุดที่พักบุคลากรด้านหน้าเมื่อก่อสร้างเสร็จ
    สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการก่อสร้างอาคารชุดที่พักบุคลากรดังกล่าว เพื่อให้เป็นอาคารที่พักของบุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวนกว่า 100 ยูนิต ให้เป็นสวัสดิการและสวัสดิภาพ ส่งเสริมขวัญและกำลังใจของบุคลากร รวมทั้งต้องการคืนพื้นที่บริเวณบ้านพักข้าราชการ ในบริเวณที่ติดต่อกับสถาบันการพลศึกษาจังหวัดยะลา ซึ่งมีอายุการใช้งานกว่า 40 ปี เพื่อปรับเป็นสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยฯ ทดแทนสนามเดิมในอนาคต ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งตามวิสัยทัศน์อธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์     
      สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารชุดที่พักบุคลากรในขณะนี้ ดำเนินการเป็นไปตามแผนการก่อสร้างทุกประการ ด้วยการกำกับติดตามการก่อสร้างทุกสัปดาห์ โดยการประชุมติดตามทุกเดือนร่วมกันของคณะกรรมการตรวจรับงาน พร้อมบริษัทที่ปรึกษา ร่วมกับบริษัทผู้รับจ้างในโครงการนี้ และคาดว่าประมาณปลายปี 2559 โครงการนี้จะเสร็จสิ้นตามเป้าหมาย

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเร่งพัฒนาคุณภาพบัณฑิต: เสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงและประชาคมอาเซียน

      ในปีการศึกษา 2557 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยท่านอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ พร้อมผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมกันกำหนดให้เรื่อง "คุณภาพการศึกษา" เป็นวาระเร่งด่วนของมหาวิทยาลัยฯ โดยกำหนดแผนงาน โครงการและตัวชี้วัด พร้อมค่าเป้าหมายมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาไว้ในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดให้มีโครงการและกิจกรรมที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดความรู้และทักษะด้านวิชาชีพแก่บัณฑิต ก่อนจะสำเร็จการศึกษาออกไปแข่งขันในตลาดแรงงานทั้งในท้องถิ่น ในระดับประเทศ และในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต "เก่งไอที มีจิตอาสา สู้งาน สื่อสารภาษามลายูกลางได้" ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2555-2559  ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงปลายของการใช้แผนยุทธศาสตร์ จึงเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายก่อนเสร็จสิ้นการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว
     สำหรับโครงการและกิจกรรมสำคัญๆ ในปีงบประมาณ 2558 ที่สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต และกำลังดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 ปีศึกษา 2557 (15-25 ธันวาคม 2557) มีหลายโครงการดังนี้

1. การยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับนักศึกษา เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนา  ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาความรู้และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เสริมความแข็งแกร่งของบัณฑิตเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและนานาชาติในอนาคต สำหรับโครงการนี้รับผิดชอบโดยศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (http://www.yru.ac.th/clas) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับ Oxford Language Centre ดำเนินการร่วมกัน โดยมีเป้าหมายพัฒนาภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษา 2,200 คน คนละ 30 ชั่วโมง


2. การพัฒนาทักษะการใช้ไอทีเพื่อการประกอบอาชีพส่งเสริมอัตลักษณ์ "เก่งไอที" จัดอบรมปฏิบัติการผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 2,000 กว่าคน ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานโดยใช้ไอซีที จำนวน 60 ชั่วโมง มีการวัดและประเมินผลผ่านกิจกรรมในระบบอีเลิร์นนิ่ง ผู้ผ่านการอบรม จะได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรระยะสั้นรายวิชา ประเมินผลเป็นระดับความสามารถ (ดีมาก ดี พอใช้ ผ่าน) รับผิดชอบโดย กองบริการการศึกษา และงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ไอซีที) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ






3. การพัฒนาทักษะการใช้ภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร จัดอบรมปฏิบัติการให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ทุกคน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และสื่อสารภาษามลายูกลางได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และมีโอกาสที่บัณฑิตจะเข้าไปทำงานได้ทั้งในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมถึงบูรไนดาลุสซาลาม ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ภาษามลายูกลางและมีความสำคัญมากในการสื่อสารกับประชากรในประเทศดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงจัดอบรมให้ จำนวน 60 ชั่วโมง  ซึ่งในอนาคตนักศึกษาจะต้องระบบสอบวัดมาตรฐานก่อนสำเร็จการศึกษา (Exit-Exam) ด้านภาษามลายูกลาง  ซึ่งโครงการนี้รับผิดชอบโดยคณาจารย์ประจำหลักสูตรภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกองบริการการศึกษา

   
      นอกจากนั้น ยังมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ เสริมความแกร่งของหลักสูตรที่เร่งดำเนินการในการพัฒนาภาพการเรียนการสอนของหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งในปีการศึกษา 2557 (สิงหาคม 2557-กรกฎาคม 2558) สกอ.จะใช้องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์ใหม่ปี 2557 ที่ประเมินหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยฯ อย่างเข้มข้น
   ในการดำเนินการเหล่านี้ข้างต้นของมหาวิทยาลัยฯ จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นทุกๆ ปี ทั้งนี้ก็เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เข้มแข็ง เจริญเติบโตเป็นที่พึงของชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตที่เกิดจาก "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ต่อไป

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มรย. พัฒนาห้องเรียนไอซีทีมาตรฐาน ส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิต "เก่งไอที"

 
   ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้งบประมาณทำการก่อสร้างอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) รวมทั้งหมด 8 ชั้น เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางไอซีทีในสามจังหวัดชแดนใต้ โดยดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งรับผิดชอบบริหารจัดการอาคารดังกล่าว โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศูนย์คอมพิวเตอร์)  โดยขณะนี้เร่งจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีสำหรับสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านไอซีที โดยพัฒนาห้องเรียนปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มาตรฐานขนาด 40-60 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์โปรเจคเตอร์ ระบบเสียง โน้ตบุ๊คสำหรับบริการอาจารย์  รวมห้องปฎิบัติการทั้งหมด จำนวน 7 ห้อง พร้อมมีห้องสนับสนุนการสืบค้นและเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิ่งอีก จำนวน 1 ห้อง มีคอมพิวเตอร์สนับสนุนเกือบ 100 เครื่อง เปิดบริการจัดการเรียนการสอนสำหรับสาขาวิชาด้านคอมพิวเตอร์และในวิชาพื้นฐานด้านไอซีทีของทุกหลักสูตร รวมทั้งหลักสูตรเสริมอัตลักษณ์ "เก่งไอที" ให้แก่นักศึกษาของมหวิทยาลัยฯ อีกปีละกว่า 2,000 คน
    นอกจากนั้น ยังให้อาคารไอทีดังกล่าว ยังมีบริการจัดอบรมหลักสูตรไอซีทีสำหรับพัฒนาบุคลากรและบริการให้เช่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับการฝึกอบรมแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งบริการชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ สำหรับผู้สนใจติดต่อและดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://aritc.yru.ac.th และเว็บไซต์ http://ccenter.yru.ac.th  ทังนี้ จะดำเนินการเปิดอาคารไอทีอย่างเป็นทางการหลังจากพัฒนาอาคารและครุภัณฑ์ประกอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2558 ต่อไป

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: โครงการพัฒนาทางเดินมีหลังคาคลุมรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน "โครงการก่อสร้างหลังคาคลุม (Cover Way) ทางเดินเท้า" เพื่อเชื่อมทางเดินเท้ารอบๆ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ประมาณ 110 ไร่ ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและบริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร รวมถึงประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการต่างๆ และใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ให้สามารถเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยสะดวกสบายและไม่โดนแดดโดนฝน

    นอกจากนั้น โครงการดังกล่าวของมหาวิทยาลัย ยังเป็นการส่งเสริม "โครงการจอดรถเดินเรียน" ของมหาวิทยาลัยฯ ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องการจัดสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว หรือ Green University และยังเป็นการสนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงาน การลดภาวะโลกร้อน การออกกำลังกาย และปลูกฝังลักษณะนิสัยความมีวินัย จิตอาสาเสียสละให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งคาดว่าโครงการก่อสร้าง Cover Way ดังกล่าว จะแล้วเสร็จไม่เกิน 90 วัน จะได้นำความก้าวหน้ามารายงานชาว มรย. ในโอกาสต่อไป