ภาพประกอบเพิ่มเติม... |
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ 1) เพื่อร่วมมือกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลครบวงจร (Hala Food Valley) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี มรย.เป็นผู้ขับเคลื่อน และ มทส.เป็นที่ปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูลทางวิชการ การจัดฝึกอบรม สัมมนา การดำเนินงานโครงการร่วมกันหรือกิจกรรมใด 2) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล 3) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลคค่าและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และ 4) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
บันทึกข้อตกลงครั้งนี้ มีขอบเขตความร่วมมือร่วมกันได้แก่ 1) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรเพื่อวางโครงสร้างการเป็นผู้ดำเนินการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลครบวงจร (Halal Food Valley) ในรูปแบบของการให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลทางวิชาการ การจัดฝึกอบรม สัมมนา การดำเนินโครงการร่วมกัน หรือกิจกรรมอื่นใดแก่บุคลากรที่ได้รับมอบหมายของ มรย. 2) ร่วมกันส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการอาหารฮาลาลในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และ 3) ให้ความร่วมมือด้านอื่นๆ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
สำหรับการดำเนินงานตามข้อตกลงนี้ มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 และหากมีความประสงค์จะขยายเวลาความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงนี้ สามารถขยายได้คราวละไม่เกิน 2 ปี
ในการดำเนินงานตามข้อตกลงฉบับนี้ ระหว่าง มรย. และ มทส. นับเป็นก้าวแรกที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการร่วมกันอย่างเข้มแข็งต่อไป โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชน รวมถึง SME ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่ผลิตอาหารฮาลาลในพื้นที่ เกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการผลิตอาหารฮาลาล โดยมีตัวชี้วัดเป็น จำนวนผลิตภัณฑ์ (Product) ที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ โดยอาศัยความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในด้านสถานที่ตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีศูนย์การเรียนรู้แม่ลานที่มีพื้นที่จัดตั้งศูนย์บริการรองรับประมาณ 200 ไร่ มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีคณาจารย์มีงานวิจัยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลัยมีกลุ่มชุมชนที่เป็นเครือข่ายเข้มแข็ง โดยใช้ตำบลท่าสาปเป็นโมเดล (Model) ต้นแบบ อีกทั้งความเชื่อมั่นในพื้นฐานความเข้มแข็งของศาสนา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพี่น้องไทยมุสลิมในพื้นที่ ความร่วมมือของเครือข่ายในพื้นที่ ประกอบกับนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่มุ่งมั่นให้เป็น "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้" หรือเป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ผนวกกับความเชี่ยวชาญระดับสูงจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ในด้านบุคลากร ด้านความพร้อมของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านประสบการณ์การส่งเสริมการพัฒนาอาหารฮาลาลและวิสาหกิจชุมชน ที่ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนคือ เทคโนธานี (Technopolis) จึงคาดว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพี่น้องประชาชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม OTOP วิสาหกิจชุมชน SME ก่อให้เกิดการประกอบธุรกิจและการจ้างงาน รวมทั้งคณาจารย์และนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย จะได้มีโอกาสในการใช้งานวิจัย การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน นับเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัย กับการบริการวิชาการได้อย่างเด่นชัด ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยนั่นเอง
[ภาพประกอบเพิ่มเติม...]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น