คณะกรรมการการขับเคลื่อนนโยบายอธิการบดี (กขอ.) ซึ่งมีท่านอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี เป็นผู้นำทีมการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2556 และจะครบวาระในการบริหารงานในเดือนช่วงเดือนธันวาคม 2560 นี้ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในระยะต่อไปเป็นประโยชน์ต่อชาว มรย. และเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะการขับเคลื่อนองค์กรในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ "มหาวิทยาลัย 4.0" ให้เป็นองค์กร "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ตามวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยที่เราชาว มรย. ได้ร่วมกันกำหนดภาพอนาคตไว้อย่างชัดเจน รวมถึงการสร้างองค์กรให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พึ่งพิงของชุมชน ท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนใต้ ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ "พลังปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้" จึงขอเชิญชวนทุกท่านติดตามผลงานการบริหารองค์กรและทิศทางการบริหารองค์กรในอนาคตผ่านทางเวทีจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยที่เว็บไซต์ http://km.yru.ac.th โดยทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง เป็นเวทีกลางของชาว มรย. โดยติดตามป้ายกำกับ "การบริหารองค์กร" อีกทั้งเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการเว็บไซต์ให้มีเรื่องราวและสาระที่เป็นประโยชน์์ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยชาว มรย.ร่วมกันสร้าง ร่วมกันแชร์ ร่วมกันใช้ เวที http://km.yru.ac.th ให้เป็นเวทีจัดการความรู้องค์กรในทุกๆ ประเด็นต่อไป
ข่าวสาร: คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัย (กขม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเร่งปรับระบบการประเมินผลปฏิบัติราชการและตัวชี้วัด (KPIs)
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายเร่งพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoures Management: HRM) ขององค์กรทั้งระบบ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2560-2569 โดยมีเป้าหมายพัฒนาองค์กรให้มีศักยาภาพในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์เฉพาะองค์กร เป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่าง "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" โดยจัดกิจกรรมประชุมปฏิบัติการพัฒนาและปรับปรุงระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการและตัวชี้วัดการประเมินผลทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ HRM กิจกรรมครั้งนี้นำทีมดำเนินการโดย ผศ.ดร.วรพจน์ แซ่หลี ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบประเมินผล ตัวชี้วัด และเกณฑ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล (กบม.) ของมหาวิทยาลัย โดยมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารงานบุคคล (กบม.) และได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมทั้งให้โอวาทและแนวนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งนี้ กิจกรรมนี้เป็นการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ 59 โครงการ/กิจกรรมของท่านอธิการบดีในเรื่องสานศักยภาพ "การเร่งรัดปฏิรูปกฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจ"
สำหรับตัวชี้วัดและเกณฑ์ของสายวิชาชีพ มีการพัฒนาตัวชี้วัดร่วมเพื่อให้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในตำแหน่งหลักๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย เช่น เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป นักวิชาการศึกษา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ธุรการ นักวิชาการโสตทัศนูปกรณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งเป็นไปตามกรอบของมาตรฐานตำแหน่งและมีผลผลิตจากการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถยกระดับคุณภาพการให้บริการ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
สำหรับเป้าหมายในขั้นต่อไป คือการนำระบบประเมินผลปฏิบัติราชการฉบับนี้ไปใช้ อาจจะเริ่มใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 หากได้เสนอผ่าน กบม. และพิจารณาอนุมัติ รวมถึงการเตรียมการใช้ระบบสารสนเทศ "ระบบประเมินผลสมรรถนะและผลการปฏิบัติราชการ (e-Competency and Performance)" เป็นเครื่องมือในการจัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการ (ToR) บันทึกผลการดำเนินงานของแต่ละบุคคล พร้อมแนบหลักฐานออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวบรวมผลงานของบุคลากรในส่วนที่เป็นองค์ความรู้ ผลงาน แนวปฏิบัติที่ดี ให้เป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ต่อไป
. | |
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559
พัฒนายุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี : วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
กิจกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ สู่การยกระดับความเป็นเลิศของบัณฑิต ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) นับเป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2558 โดยมีความมุ่งหวังในพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ให้เป็นการปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ 1) ยุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ และ 2) ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ที่ตรงตามความต้องการของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี
ดังนั้น ในวันที่ 30 และ 31 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุมสภาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้เชิญคณะกรรมการพัฒนาแผนฯ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ร่วมให้ข้อเสนอแนะและให้แนวคิดในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ เพื่อการมีงานทำ และในประเด็นของการผลิตและพัฒนาครูในพื้นที่ สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช รองประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส และนายอับดุลเลาะห์ เจ๊ะอุบง ผู้ประกอบการเจ้าของกิจการอาหารฮาลาล "โรตีกรอบอับดุลเลาะห์" โดยมีอธิกาารบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย กรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ และคณะกรรมการ YRU Core Team
สำหรับประเด็นในการให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพบัณฑิต ได้แก่ การผลิตบัณฑิตควรเน้นการให้ทักษะให้มากที่สุดในขณะจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา โดยใช้ศูนย์ฝึกประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน เช่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ศูนย์เรียนรู้การปฏิบัติงาน ควรต้องมีสถานที่และเวทีทดลองความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน การปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ทุกหลักสูตร เพื่อรองรับบัณฑิตในยุคใหม่ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ (New Generation) ต้องให้ความสำคัญเรื่อง Soft Skill โดยเฉพาะทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการออม การจัดการการเงิน มุ่งไปสู่การกล้าเป็นผู้ประกอบการ
ควรมีการจัดการเรียนรู้แบบ Work-Integrated Learning: WIL โดยใช้ศูนย์บ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับสหกิจศึกษาเป็นเครื่องมือ และควรมองนโยบายการพัฒนาเมือง เช่น เทศบาลนครยะลา ที่ขณะนี้มุ่งเน้นในการสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้าง Network และ Partner ระหว่างมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย การตลาดต้องทำคู่กับการพัฒนาวิชาการ (การพัฒนาบัณฑิต) โดยเลือกความเก่งเป็นบางเรื่องที่เราถนัด
ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการผลิตบัณฑิต การผลิตครูและพัฒนาครูจากเวทีประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้นำไปปรับยุทธวิธี (Tactics) เป้าหมาย (Goals) ตัวชี้วัด (KPIs) และโครงการ/กิจกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดใน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ฯ ระยะ 10 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ต่อไป
ดังนั้น ในวันที่ 30 และ 31 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุมสภาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้เชิญคณะกรรมการพัฒนาแผนฯ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ร่วมให้ข้อเสนอแนะและให้แนวคิดในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ เพื่อการมีงานทำ และในประเด็นของการผลิตและพัฒนาครูในพื้นที่ สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช รองประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส และนายอับดุลเลาะห์ เจ๊ะอุบง ผู้ประกอบการเจ้าของกิจการอาหารฮาลาล "โรตีกรอบอับดุลเลาะห์" โดยมีอธิกาารบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย กรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ และคณะกรรมการ YRU Core Team
สำหรับประเด็นในการให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพบัณฑิต ได้แก่ การผลิตบัณฑิตควรเน้นการให้ทักษะให้มากที่สุดในขณะจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา โดยใช้ศูนย์ฝึกประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน เช่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ศูนย์เรียนรู้การปฏิบัติงาน ควรต้องมีสถานที่และเวทีทดลองความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน การปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ทุกหลักสูตร เพื่อรองรับบัณฑิตในยุคใหม่ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ (New Generation) ต้องให้ความสำคัญเรื่อง Soft Skill โดยเฉพาะทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการออม การจัดการการเงิน มุ่งไปสู่การกล้าเป็นผู้ประกอบการ
ควรมีการจัดการเรียนรู้แบบ Work-Integrated Learning: WIL โดยใช้ศูนย์บ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับสหกิจศึกษาเป็นเครื่องมือ และควรมองนโยบายการพัฒนาเมือง เช่น เทศบาลนครยะลา ที่ขณะนี้มุ่งเน้นในการสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้าง Network และ Partner ระหว่างมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย การตลาดต้องทำคู่กับการพัฒนาวิชาการ (การพัฒนาบัณฑิต) โดยเลือกความเก่งเป็นบางเรื่องที่เราถนัด
ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการผลิตบัณฑิต การผลิตครูและพัฒนาครูจากเวทีประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้นำไปปรับยุทธวิธี (Tactics) เป้าหมาย (Goals) ตัวชี้วัด (KPIs) และโครงการ/กิจกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดใน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ฯ ระยะ 10 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ต่อไป
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
ประเมินคุณภาพการบริหารองค์กร: กิจกรรมประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารประจำปี พ.ศ. 2558
ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม 2559 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารระดับอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ทั้ง 7 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี (http://president.yru.ac.th) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://aritc.yru.ac.th) สถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ (http://research.yru.ac.th) คณะครุศาสตร์ (http://edu.yru.ac.th) คณะวิทยาการจัดการ (http://business.yru.ac.th) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (http://human.yru.ac.th)
การประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยฯ ครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยฯ มอบหมายให้คณะกรรมการทั้งจากผู้แทนสภามหาวิทยาลัยและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ประกอบด้วย 1) นายเดชรัตน์ สิมศิริ 2) ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์ 3) ผศ.ดร.สุนทร จันทนนท์ 4) นายสุชาติ อนันตะ 5) นายนุมิ มะกาเจ 6) ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา และ 7) ดร.กิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์ และ 8) รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต ซึ่งการประเมินผลปฏิบัติงานของอธิการบดี คณบดีและผู้อำนวยการสำนัก มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งมาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและสถาบัน การประเมินผลการดำเนินงานตามหลักธรรมภิบาล การประเมินผลการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และการศึกษาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผลการประเมินเบื้องต้น พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และมหาวิทยาลัยฯ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมิน มหาวิทยาลัยและหน่วยงาน รวมถึงคณะผู้บริหาร จะได้นำไปปรับปรุงผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2559 ให้มีคุณภาพในทุกๆ ด้านให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยฯ ครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยฯ มอบหมายให้คณะกรรมการทั้งจากผู้แทนสภามหาวิทยาลัยและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ประกอบด้วย 1) นายเดชรัตน์ สิมศิริ 2) ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์ 3) ผศ.ดร.สุนทร จันทนนท์ 4) นายสุชาติ อนันตะ 5) นายนุมิ มะกาเจ 6) ร.ต.ต.กริยา ตระกูลศึกษา และ 7) ดร.กิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์ และ 8) รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต ซึ่งการประเมินผลปฏิบัติงานของอธิการบดี คณบดีและผู้อำนวยการสำนัก มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งมาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและสถาบัน การประเมินผลการดำเนินงานตามหลักธรรมภิบาล การประเมินผลการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และการศึกษาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผลการประเมินเบื้องต้น พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และมหาวิทยาลัยฯ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมิน มหาวิทยาลัยและหน่วยงาน รวมถึงคณะผู้บริหาร จะได้นำไปปรับปรุงผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2559 ให้มีคุณภาพในทุกๆ ด้านให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
|
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
ประชุมคณาจารย์และบุคลากรภาคเรียนที่ 2/2558: ผลงานและแนวนโยบายพัฒนาตามวิสัยทัศน์องค์กร
[ภาพบรรยากาศเพิ่มเติม...] [สไลด์ประกอบ การประชุม ] |
สำหรับโครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการไปแล้วในระยะที่ผ่านมาและในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 รวมทั้งนโยบายและโครงการที่กำลังดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) นี้ ดังรายละเอียดเอกสารนำเสนอ [ดูรายละเอียด]
นอกจากนั้น อธิการบดี ยังได้นำเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ไปด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การตั้ง "ทีมร่วมคิด รวมทำ นำพัฒนา" หรือเรียกว่า YRU Core Team ซึ่งมีทั้งคณะผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรจากทุกส่วนราชการภายใน ทุกช่วงอายุ มาร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2560-2574) ที่กำลังดำเนินการยกร่างในขณะนี้ โดยท่านอธิการเน้นย้ำเรื่องความร่วมมือในการขับเคลื่อนไปพร้อมพร้อมๆ กัน โดยทุกคนมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ มีรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีได้นำเสนอทิศทางการพัฒนาองค์กรที่สำคัญ สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
- ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://ict-bl.blogspot.com) นำเสนอผลการดำเนินงานด้านไอซีทีและการพัฒนาหน่วยงานในกำกับที่เน้นคุณภาพการให้บริการ และการบริหารจัดการองค์กรเชิงยุทธศาสตร์ เน้นการพัฒนาไอซีทีของมหาวิทยาลัยฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2 ประการ คือ 1) การใช้ไอซีทีสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาและบุคลากร 2) การใช้ไอซีทีนำองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการและการตัดสินใจ รวมทั้งมองถึงอนาคตที่ต้องเน้นการพัฒนา Green ICT และการมุ่งสู่มาตรฐานองค์กรแนวปฏิบัติที่ดี การขอรับรองมาตรฐานจากองค์กรภายนอก เช่น TQA, ISO เป็นต้น [เอกสารประกอบ...]
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อ้บดุลรอซะ วรรณอาลี รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน นำเสนอข้อมูลสภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยฯ ให้คณาจารย์และบุคลากรได้รับรู้และรับทราบ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตร การวางแผนในการบริหารหน่วยงาน เช่น ข้อมูลด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านนักศึกษา ด้านรายได้และรายจ่ายของมหาวิทยาลัยฯ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ ด่านเดชา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร นำเสนอผลการดำเนินงานการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบุคคลากรและหน่วยงานภายใน แนวทางการบริหารองค์กรตามระเบียบงานสารบรรณ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ แซ่หลี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ นำเสนอแนวทางการพัฒนาผลงานวิชาการของคณาจารย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ จำเป็นต้องเร่งรัดให้อาจารย์จัดทำผลงานวิชาการ ทั้งเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา บทความวิจัย เพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งเน้นย้ำหลักเกณฑ์ใหม่ตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรที่ สกอ.ประกาศใช้
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ให้ความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งโลกภายนอกปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อหลักสูตร รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรฐาน ISED 2013
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)