- เสนอมหาวิทยาลัย กำหนดนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งชัดเจน ผลการสอนให้เชื่อมโยงกับ KPI ผลการปฏิบัติงานสอน ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม มีประกาศหรือกฎระเบียบรองรับการดำเนินงาน
- ตั้งศูนย์ "อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วย ICT" เป็นศูนย์เฉพาะกิจขับเคลื่อนอีเลิร์นนิ่งขึ้นที่อาคารสำนักวิทยบริการฯ ชั้น 6 พร้อมให้บริการทั้งผู้สอนและผู้เรียน มีบุคลากรประจำ ๒ คน คือ คุณรัตนาภรณ์ ศรีหาพล และคุณธนภัทร นาคิน จากงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- พัฒนาเว็บไซต์ ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วย ICT มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล (http://aritc.yru.ac.th/elearning)
- ประชาสัมพันธ์ข่าวกิจกรรมของศูนย์อีเลิร์นนิ่งอย่างต่อเนื่องในสื่อทุกประเภท ทั้งแผ่นพับ เว็บไซต์ Facebook สถานีวิทยุ เป็นต้น
- มีหลักสูตรอบรมผู้สอนและผู้เรียนอย่างเป็นระบบ (ประเมินผลและมอบเกียรติบัตร) โดยยึดรูปแบบการอบรมอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายชัดเจน
- พัฒนาคู่มือวิทยากร คู่มือผู้สอน และคู่มือผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง
- มีการมอบเกียรติบัตร รางวัลแก่ผู้มีแนวปฏิบัติที่ดีในการสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัย
- การปรับปรุงเครื่องแม่ข่ายบริการอีเลิร์นนิ่งให้ใช้ร่วมกัน
- แต่ละคณะร่วมรับผิดชอบตัวชี้วัด โดยกำหนดให้แต่ละหลักสูตรต้องส่งผู้สอนเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของอาจารย์ประจำหลักสูตร
- กำหนดให้ผู้สอนนำผลคะแนนจากระบบอีเลิร์นนิ่งมาใช้ในการวัดผลในรายวิชา อย่างน้อย ๑๐%
ผลการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ จะได้นำเสนอให้มหาวิทยาลัยและคณะหาแนวทางสนับสนุนให้สามารถดำเนินการในการพัฒนาการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งให้บรรลุเป้าประสงค์ต่อไป สำหรับการจัดอบรมผู้สอน โดยจะสำรวจความต้องการในเดือนธันวาคม ๒๕๕๖ และจัดอบรมให้แก่คณาจารย์ใหม่และคณาจารย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และประเมินภาพรวมตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้ ประมาณ เดือนเมษายน ๒๕๕๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น